การเลือกกระเบื้องไม่ได้ดูแค่ลายสวยถูกใจเท่านั้น คุณสมบัติ ประเภท และข้อมูลต่าง ๆ ที่ระบุ ก็ไม่ควรมองข้ามไป เริ่มตามลำดับดังนี้

1. เลือกตามประเภทของกระเบื้องให้เหมาะสม
    กระเบื้องทั่วไปแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามชนิดและรูปแบบ







4. สังเกตค่าการดูดซึมน้ำของกระเบื้อง
   เพราะกระเบื้องแต่ละชนิดต่างกันจึงควรเลือกให้เหมาะสม โดยเช็กที่ข้างกล่องหรือสอบถามกับทางร้านค้า รวมไปถึงค่าการดูดซึมน้ำซึ่งมีผลต่อสภาพความชื้นที่จะเป็นปัญหาเรื่องการหลุดล่อนและความคงทนของกระเบื้องต่อไป โดยค่ามาตรฐานในท้องตลาด มีดังนี้

    0% ไม่มีการดูดซึมน้ำจึงไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น พบกับกระเบื้องประเภทโมเสกแก้ว

    น้อยกว่า 3% มีการดูดซึมน้ำต่ำมาก จึงเหมาะกับงานปูสระว่ายน้ำ งานภายในและภายนอกอาคารที่สัมผัสน้ำบ่อย ๆ
  
    มากกว่า 3-6% มีการดูดซึมน้ำน้อย จึงใช้ได้ทั้งงานปูภายในและภายนอกอาคาร

    มากกว่า 6-10% มีการดูดซึมน้ำปานกลาง เหมาะกับงานปูภายในกับภายนอกที่มีความชื้นไม่มากนัก

    มากกว่า 10-16% มีการดูดซึมน้ำสูง จึงไม่เหมาะปูในที่มีความชื้นสูง อย่างภายนอกอาคารที่ถูกแดดและฝนเป็นประจำ

เครดิต สาระจาก https://home.kapook.com/view67545.html 20 กุมภาพันธ์ 2560

3.ปัญหาสระว่ายน้ำที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข

3.1.  น้ำเขียวน้ำเขียวมักจะมีสาเหตุมาจากการขาดการดูแลหรือขาดสารเคมี  ทำให้สาหร่ายและตะไคร่เจริญเติบโต เป็นผลทำให้น้ำมีสีเขียว  ถ้าทิ้งไว้นานก็ยิ่งเขียวมากขึ้น จนกลายเป็นสีดำ การแก้ไข  ทำได้โดยการเติมคลอรีนลงไป  และเดินระบบกรองและหมุนเวียนน้ำให้นานกว่าปกติ  (หรือตลอดเวลา)  ดูดตะกอนที่ตกลงมาก้นสระบ่อย ๆ และล้างเครื่องกรองให้บ่อยขึ้น  ถ้า 2 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือไม่ดีเท่าที่ควร  ให้ใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำใสร่วมด้วย  ปัญหาน้ำเขียวน่าจะแก้ไขปัญหาได้ภายใน 3-4 วัน (สำหรับสระ 100 ลูกบาศก์เมตร)  ถ้าสระขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานานมากกว่านี้

3.2. ตะไคร่ ปัญหาตะไคร่มักเกิดจากการดูแลที่สม่ำเสมอหรือน้ำขาดสารเคมีทำให้ตะไคร่เจริญเติบโต ทั้งตะไคร่เขียว เหลืองและดำส่วนมากจะมีที่บริเวณผนังสระและตามร่องกระเบื้อง การแก้ไข  ทำได้โดยทำการขัดตะไคร่  และเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่  วันรุ่งขึ้นจึงทำการดูดตะกอนที่ตกลงที่พื้นสระทิ้งไป  หลังจากนั้นควรทำการเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่เป็นประจำ  และควรควบคุมค่าคลอรีนในสระไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐาน  เพื่อช่วยควบคุมตะไคร่อีกทางหนึ่ง

3.3.  น้ำมีสีที่แปลกออกไป การที่น้ำมีสีแปลกออกไปจากปกติเช่น  สีแดงหรือสีสนิม  เป็นต้น  สาเหตุมาจากน้ำมีแร่ธาตุต่างๆ ปะปนอยู่ในปริมาณที่สูง เช่น  เหล็ก  สังกะสี  เป็นต้น  มักจะเกิดปัญหากับน้ำบาดาลเป็นส่วนใหญ่ การแก้ไข  ทำได้โดยทำการเติมน้ำยาตะกอนโลหะลงในสระโดยเทคนิคในการใช้น้ำยาตกตะกอนโลหะคือเมื่อใส่ลงในสระแล้วต้องปิดระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อให้โลหะที่ปะปนอยู่ตกตะกอนทิ้งไว้ 1 คืน  และต้องรีบดูดตะกอนออกตั้งแต่ช่วงเช้า  เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงตะกอนจะลอย  ทำให้ดูดตะกอนออกได้ไม่หมด  หากมีการเติมน้ำใหม่เข้าสระก็ควรจะใช้น้ำประปาหรือน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะดีกว่า

การดูแลสระว่ายน้ำสำคัญคือตัวผู้ดูแลต้องเอาใจใส่ให้มากที่จะต้องคอยตรวจสอบค่าเคมีและศึกษาตัวสารเคมีให้เข้าใจก่อนที่จะใช้ในการกรองหมุนเวียนน้ำก็ต้องตรวจสอบว่าตัวกรองสกปรกจะต้องล้างหรือไม่และระบบสระว่ายน้ำที่ดีก็จะเป็นระบบน้ำล้นเพราะสระจะไม่คอยจะสกปรกง่ายต่อการดูแลรักษา
เครดิต สาระจาก http://www.sama.co.th/Article/Detail/48511 21 กุมภาพันธ์ 2560 

4. ขั้นตอน ง่ายๆในการดูแลสระว่ายน้ำ
4.1. เตรียมอุปกรณ์และเคมีทุกชนิดสำหรับสระว่ายน้ำ เท่าที่จำเป็นต้องใช้ อาทิ ด้ามจับความยาวตามความเหมะสมของขนาดสระว่ายน้ำ แปรงขัดพื้น แปรงดูดตะกอน สายดูดตะกอน ตะข่ายช้อนสิ่งสกปรก และเคมีทั่วไปอย่าง คลอรีน และชุดทดสอบค่าpH-Cl เป็นต้น

4.2. สำหรับการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ควรใช้แปรงขัดพื้น-ผนัง อาทิตย์ละครั้งเป็นพอดี โดยใช้หัวแปรงขัดติดกับเข้าด้ามจับ
4.3.ใช้ตะข่ายช้อนสิ่งสกปรกออกจากสระว่ายน้ำ ซึ่งตะข่ายตัวนี้ยังสามารถใช้ช้อนของเล่น หรือสิ่งที่ตกลงไปกลางสระว่ายน้ำได้ โดยไม่จำเป็นต้องดำลงไปเก็บ
4.4.นำสายดูดตะกอนจุ่มลงน้ำ เพื่อไล่ลมออกจากท่อให้หมด แล้วจึงต่อเข้ากับท่อดูดตะกอนและหัวดูดตะกอน ตรวจเช็คให้แน่ใจว่า เปิดวาล์วดูดตะกอน และปั้มพร้อมทำงานแล้ว จากนั้นค่อยๆไล่ดูดขึ้น-ลง อย่างช้าๆจนครบทุกพื้นที่สระ
4.5.ถังกรองของคุณจะเป็นตัวช่วยกรองสิ่งสกปรกขนาดเล็ก(ไมครอน) เพื่อช่วยให้น้ำสะอาดใส โดยปกติถังกรองนั้นสามารถทำงานได้ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน เฉพาะการเลือกซื้อถังกรองต้องใช้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดสระว่ายน้ำ สำหรับถังกรอง cartridge filter สามารถถอนไส้ และนำมาล้างน้ำให้สะอาดได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นถังกรองแบบ cartridge filter หรือ ถังกรองทรายก็ต้องทำการ Backwash เป็นประจำเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกจากถังกรอง สิ่งที่จะคอยเตือนว่าควรทำการ Backwash ได้แล้ว ให้สังเกตที่ Pressure gauge ว่าเกิน 10 psi หรือยัง หากเกินแล้วให้ทำการ Backwash ทันที
4.6.ควรตรวจเช็คระดับ pH-Cl ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยสามารถใช้ Tester Kit (pH-Cl) ที่มีขายตาม Shop ขายอุปกรณ์สระว่ายน้ำใกล้บ้านท่าน เรื่องนี้สำคัญอย่างมากต่อคุณภาพของน้ำในสระว่ายน้ำ ซึ่งค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 7.2-7.8 และค่า Cl ควรอยู่ที่ 1.0-1.5 ppm เพียง 6 ขั้นตอนง่ายๆนี้ สระว่ายน้ำของคุณก็จะใสสะอาดน่าเล่นมากๆแล้วครับ

เครดิต สาระจาก Inyopools

 

วิธีการใช้งาน
1. ปรับแต่งผนังสำหรับปูกระเบื้องโดยทำความสอาดและซ่อมรอยชำรุด
2. สำหรับผนังเก่าให้ปรับแต่งผิวให้ขรุขระเพื่อการยึดเกาะของกระเบื้องกับผนัง
3. ธรรมชาตของกระเบื้องเซรามิคจะมีขนาดและความเข้มของสีที่แตกต่างกันควรนำกระเบื้องมาปูคละกันและนำกระเบื้องสระว่ายน้ำไปแช่น้ำสะอาด 2 ชั่วโมงก่อนปูกระเบื้อง เพื่อให้กระเบื้องสระว่ายน้ำดูดเนื้อปูป้องกันการหลุดร่อนของกระเบื้องสระว่ายน้ำ

ข้อแนะนำการใช้งาน
1. ก่อนปูกระเบื้องให้พรมน้ำบริเวณผนังที่จะปูให้ทั่วและรอให้แห้งหมาดๆ แล้วปูกระเบื้อง
2. ปูกระเบื้องตามแนวที่จัดไว้แล้ว โดยปูจากซ้ายไปขวาจากล่างขึ้นบน และเว้นระยะช่องให้ห่างกันประมาณ 1-3 มิลลิเมตร

คำเตือน
1. ก่อนปูกระเบื้องสระว่ายน้ำควรอ่านคำแนะนำข้างกล่องอย่างละเอียดเพราะเป็นกระเบื้องที่มีการดูซึมสูงดังนั้น การแช่น้ำก่อนปูเป็นสิ่งสำคัญ
2. รุ่นของกระเบื้องมีความสำคัญกับเฉดสี สังเกตที่ข้างกล่อง เพราะการผลิตของกระเบื้อง มีเฉดสีต่างกันในรุ่นที่ผลิต ดั้งนั้นอาจมีการเพี้ยนของสีเกิดขึ้นได้
Visitors: 376,243